แม่บ้านกับการทำบัญชีง่าย ๆ

สวัสดีค่ะพี่น้องทุก ๆ ท่าน

เวลานี้เงิน 100 บาทของคุณ ยังคงซื้อของได้ 100 บาท เหมือนเดิมไหมคะ
ถ้าคุณรู้สึกว่า “ทำไมเงิน 100 บาทของเราซื้อของได้น้อยลงเรื่อย ๆ ” เหมือนที่ดิฉันรู้สึก และกำลังวิตกนิด ๆ ว่า “แล้วจะทำยังไงดีกันต้องจ่ายมากขึ้น แต่ได้รับเท่าเดิม หรือน้อยกว่าเดิม”

ดีนะที่เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ นักปั่นราคาน้ำมันเลยหยุดปั่นราคา ทำให้น้ำมันลดราคาลงเรื่อย ๆ พลอยทำให้ ค่าบริการ และสินค้าบางอย่าง ราคาถูกลง แต่อย่าวางใจนะ เพราะในความโชคดี มีความโชคร้ายก้อนมหึมากำลังก่อตัวตามมาติด ๆ ลองสังเกตดูซิคะ ทำไมธนาคารต่าง ๆ ระดมเงินฝากกันอย่างรีบเร่ง ปัญหาเศรษฐกิจเป็นเรื่องซับซ้อน ประชาชนตาละห้อยอย่างเราคงไม่เข้าใจ ขอย้ำเตือนพี่น้องประหยัดมาก ๆ ยึดหลัก “ความพอเพียง” จะได้ไม่ลำบากในวันข้างหน้า
ใช้เงินทุกบาททุกสตางค์ ให้คุ้มค่าเงิน จ่ายในสิ่งที่ควรจ่าย ที่เหลือเก็บออมเป็นเงินสดไว้ดีที่สุด

ราจะช่วยกันบริหารเงิน ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังครอบครัวตัวอย่างที่มี พ่อ-แม่-ลูก 2 คน กำลังเรียน พ่อทำงานนอกบ้าน แม่ขายของเล็ก ๆ น้อย อยู่กับบ้าน ทุกคนร่วมมือกัน
หลักเกณฑ์สำคัญคือ ให้ทุกคนรู้สถานะการเงินของครอบครัวจริง ๆ และยอมรับสภาพความเป็นจริงว่า บ้านเรามีเงินแค่นี้ จำเป็นต้องใช้เท่านี้ จากนั้นเริ่มร่วมใจกันจัดการบริหารเงินกันเลย

(1) ทำบัญชีครัวเรือน
แยกเป็นบัญชีแตะละประเภทดังต่อไปนี้
ก.บัญชีรายรับ
แยกเป็นบัญชีเงินเดือนของพ่อ และบัญชีรายรับจากการขายของทุกวันว่าแต่ละวันขายได้เท่าไร สรุปยอดแต่ละเดือน หักต้นทุน ได้กำไรเท่าไร ถือเป็นรายรับของเดือน เมื่อรวมเงินเดือนพ่อ ก็จะได้รายรับที่แท้จริงของครอบครัว
ข.บัญชีรายจ่าย
แบ่งเป็นบัญชีเงินลงทุนซื้อของมาขาย รวมยอดทุกเดือน เทียบกับยอดขายได้ ก็พอประมาณคร่าว ๆ ได้ว่า มีกำไร เท่าไร

  • บัญชีรายจ่ายคงที่ เช่น ค่าเช่าบ้าน (ค่าผ่อนบ้าน) ค่าน้ำ-ค่าไป-ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ
  • บัญชีค่าใช้จ่ายในบ้าน แบ่งเป็นอุปกรณ์ทำความสะอาด อาหารสด อาหารแห้ง
  • บัญชีค่าใช้จ่ายประจำวันของสมาชิก เช่น ค่ารถ ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายส่วนตัวของลูก และพ่อที่ต้องออกไปทำงาน-ไปเรียน รวมทั้งแม่ที่อยู่บ้านขายของ ควรกำหนดค่าใช้จ่าย ของตัวเองแล้วใช้ไม่เกินนั้น

    ค่าใช้จ่ายส่วนตัวของแต่ละคน ถ้าเหลือ แนะนำให้หยอดกระปุกเก็บออมไว้ค่ะ วันละบาท สองบาท สิบบาท ไม่นานเท่าไรคุณจะมีเงินพัน ไม่ทันรู้ตัวทีเดียว
    (2)รายจ่ายคงที่ในบัญชี ข.
    เก็บแยกไว้เลย บัญชีค่าใช้จ่ายในบ้าน และของสมาชิก แยกเป็น 2 กอง เก็บไว้เช่นกัน เงินที่เหลือจากรายจ่ายจำเป็นดังกล่าว เก็บใส่กล่อง ทำบัญชีแต่ละเดือนว่า เหลือเท่าไร การจัดเก็บด้วยวิธีนี้ทำให้เห็นตัวเลข ชัดเจนว่า รายจ่าย เป็นอย่างไร มีเงินเหลือออมหรือไม่ในแต่ละเดือน ซึ่งจะช่วยในการวางแผนบริหารเงินได้ดีขึ้น
    (3)ไม่พกเงินสดมากเกินวงเงินที่กำหนดไว้ใช้ในแต่ละวัน
    วิธีนี้เห็นผลทันตา เพราะเมื่อมีเงนจำกัด ก็ถูกล่อลวงยาก ถึงเกิดกิเลสอยากซื้อ ซื้อไม่ได้ ถ้าพกเงินมาก เห็นอะไรอยากซื้อไปหมด หากเจอคนขายพูดเก่ง เสร็จเขาเลย คนจำนวนมาก ซื้อ ของเพราะถูกกระตุ้นความอยากทั้งที่ไม่จำเป็นต้องใช้ เสียเงินไปแล้ว ถึงรู้สึกตัว เสียดายเงินก็ช่วยอะไรไม่ได้แล้ว การไม่พกเงินสดมากเกิน จึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด ในการเก็บรักษาเงินของเราเอาไว้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    (4) ถ้าคุณแม่บ้านต้องจ่ายตลาดทุกวัน กำหนดวงเงินแน่นอนว่าต้องจ่ายเท่าไรในแต่ละวัน
    เอาติดตัวไปแค่นั้น ซื้อเท่าที่มี ซื้อในสิ่งที่ต้องใช้ อย่าซื้อ ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ฯลฯ เกินต้องการ แล้วเก็บรกตู้เย็นเป็นอาทิตย์ จนเน่าเสีย เพราะการทำเช่นนี้ คุณกำลังฉีกเงินทิ้งลงท่อโสโครก อย่างไม่รู้ตัว ก่อนไปจ่ายตลาดจึงควรเปิดตู้เย็นดูว่า มีอะไรเหลือบ้าง ใช้ของเท่าไรหมด อาจซื้อของใหม่มาเพิ่มเติมบ้างก็ได้

    วิธีการทั้ง 4 ข้อ ไม่ยากเกินไปนะคะ ช่วยกันทำเลย แล้วคุณจะแปลกใจว่ามีเงินเหลือออม โดยชีวิตในครอบครัวก็ไม่อัตคัตขัดสนอะไรเลย

    ย่าลืมนะคะ ว่าสิ่งที่คุณมีคือสิ่งที่พระเจ้าประทานให้ ถวายคืนให้พระเจ้าด้วย ความเต็มใจตามใจสมัคร และแบ่งปันช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากด้วยค่ะ

    อพระเจ้าอวยพระพรคะ


    1 ทิโมธี 6:7-8

    เพราะว่าเราไม่ได้เอาอะไรเข้ามาในโลกฉันใด เราก็เอาอะไรออกไปจากโลกไม่ได้ ฉันนั้นแต่ถ้าเรามีอาหาร และเสื้อผ้า ก็ให้เราพอใจด้วยของเหล่านั้นเถิด

    Visitor 197

  •  อ่านบทความย้อนหลัง