“เวลาหนักหน่วงไม่ยืดยาว แต่คนหนักแน่นยืนยง”

 

 

 

ศ.บ

 

   ช่วงหลังนี้คนไทยเราเผชิญวิกฤติหลายอย่าง  เราพบเศรษฐกิจถดถอยที่เรียกกันว่า “ต้มยำกุ้ง” ปี 1997   สึนามิ ฝั่งอันดามัน ปลายปี 2004   น้ำท่วมใหญ่ ปี  2011  โควิด 19 ในต้นปีนี้เอง  ยังไม่จบ เพราะตัวเลขของผู้ติดเชื้อโควิด 19 และจำนวนผู้เสียชีวิตในต่างประเทศยังสูงอยู่  วันนี้  ในเอเชียมีผู้ติดเชื้อกว่า 4 ล้านคน มีคนตาย 92,853 คน อินเดียมากที่สุดคนติดเชื้อมากกว่า 1.5 ล้านคน มีคนตาย  34,968 คน  ทวีปอัฟริกามีผู้ติดเชื้อ 8.9 แสนคน มีคนตาย 18,857 คน ประเทศที่ติดเชื้อมากที่สุด คือ อัฟริกาใต้ 4.7 แสนคน  มีคนตาย 7,497 คน ในทวีปอเมริกามีผู้ติดเชื้อ  9.1 ล้านคน มีคนตาย 3.5 แสนคน  สหรัฐอเมริกาติดเชื้อมากที่สุด 4.4 ล้านคน คนตาย 1.5 แสนคน ทวีปยุโรปมีผู้ติดเชื้อ  2.8 ล้านคน มีคนตาย 203,542 คน  รัสเซียมีผู้ติดเชื้อมากที่สุด กว่า 8 แสนคน แต่ประเทศที่มีคนตายมากที่สุดในยุโรป คืออังกฤษ  45,961 คน 

 

 ส่วนทวีปออสเตรเลียและประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิค ติดเชื้อ 17,362 คน มีคนตาย 207คน ( 17-7- 2020, ecdc.europa.eu) ผมอยากนำเรื่องวิกฤติภัยธรรมชาติซึ่งเกิดที่อเมริกา   มาเล่าให้ฟัง  เรื่องเล่าต่อไปนี้เล่าโดยโรเบิร์ท ชูเลอร์ ศิษยาภิบาลอาวุโส  คริสตจักรคริสตัล คาธี ดรัล คองกรีเกรชั่น การ์เด็น โกลบ  รัฐคาลิฟอเนีย  ท่านเขียนเรื่อง

  “เวลาหนักหน่วงไม่ยืดยาว แต่คนหนักแน่นยืนยง”

 ต่อไปนี้เป็นข้อเขียนของท่านครับ

 

 ในปี 1982 เกิดวิกฤติเศรษฐกิจอย่างหนักในสหรัฐอเมริกา บริษัท ห้างร้าน ต่างๆพินาศยับเยิน บริษัทแล้วบริษัทเล่าพากันประกาศ “การล้มละลาย” มาตามลำดับ มีคนตกงานเป็นจำนวนมาก มันเกิดอย่างรุนแรงและติดต่อกันยาวนาน เศรษฐกิจถดถอยลงเรื่อยๆ การกระจายข่าวของสื่อต่างๆ ยิ่งสร้างความตึงเตรียดไปทั่วอเมริกา   นักการเมืองฉวยโอกาสเอาวิกฤติมาโจมตีกันและกัน  และก็ต่างชี้ให้เห็นว่าใครบกพร่องตรงไหน  วิกฤติถึงเกิดได้ปานนี้

 ทุกคนต่างจดจ่ออยู่ที่ว่า  “จะโทษใคร?”   แต่ไม่มีใครคิดว่า “จะแก้ไขอย่างไร?” ปัญหายังอยู่  และเลวลงเรื่อยๆ  จนกระทั่งส่งผลไปถึงทุกคนในประเทศ  ไม่เว้นใคร

            ผมเป็นศิษยาภิบาลของคริสตจักร  เป็นผู้ออกรายการทีวี 169 ช่องทุกๆสัปดาห์ มีทีมงานประมาณ 500 คน ใช้เงินปีละประมาณ 20 ล้านดอลลาร์   ค่าเช่ารายการก็แพงขึ้นเรื่อยๆ ผมกำลังเผชิญหน้าวิกฤติเช่นเดียวกับคนอเมริกันอื่นๆ ไม่มีใครปฏิเสธว่าเราไม่พบวิกฤติ   แต่ปัญหาอยู่ที่เราจะมีท่าทีเผชิญวิกฤติอย่างไร ความคิดในด้านลบแพร่สะพัดออกไปสู่สังคมอย่างรวดเร็วเหมือนโรคระบาด โดยคำพูด บทสนทนา ระหว่างเรากับเพื่อนๆ กับคนแปลกหน้า โดยจอโทรทัศน์ วิทยุ และรายงานข่าว  

 

        วันนั้น ที่โรงแรมฮิลตัน  ในชิคาโก  ผมจะต้องบรรยายให้นักธุรกิจการเกษตรที่มาจากรัฐไอโอวา  รัฐมิชิแกน  รัฐอิลินอย  และรัฐมินิโซตาฟัง   ผมรู้สึกว่าผมอยู่ท่ามกลางคนที่กำลังพบวิกฤติอย่างรุนแรง   พิธีกรบอกผมว่า  วันนี้มีคน 3,500 คนกำลังมารอฟังว่าผมจะพูดอะไรกับเขา   เขาแนะนำต่อไปว่า “ผู้ฟังเหล่านี้คือคนที่กำลังตกอยู่ในภาวะทุกข์ยากหนักหน่วง   พวกเขาไม่อยากมาฟังเรื่องตลกๆ คลายเครียด หรือคำสัญญาลมๆแล้งๆว่า “ในที่สุดทุกสิ่งทุกอย่างก็จะราบรื่น”  “พวกเขาสูญเสียฟาร์ม ธุรกิจล้มละลาย ผลพวงกระทบชีวิตสมรส และครอบครัว พวกเขาต้องการการช่วยเหลือ และยิ่งกว่าสิ่งใดทั้งหมด พวกเขาต้องการความหวัง ขออาจารย์ช่วยเขาหน่อย” จากนั้นพิธีกรก็ แนะนำว่าผมทำงานมาประสบความสำเร็จ และมีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วโลกอย่างไร   

เสียงที่ประชุมปรบมือต้อนรับผมอย่างดี   ผมมายืนอยู่ต่อหน้าผู้ฟังที่กำลังเครียดจัดหน้านิ่วคิ้วขมวดเต็มห้องประชุม   นาทีนั้น เรื่องตลก 3 เรื่องที่ผมเตรียมไว้มันหายไปหมดสิ้น 

 

 

 

       ผมขึ้นต้นด้วยคำถาม “เขาบอกผมว่า พวกคุณกำลังพบวิกฤติหนักหน่วง ใช่ไหมครับ?” ขณะถามผมก็คิดว่าจะพูดกับเขาเรื่องอะไรดี   ตามตำราเขาว่าให้เราพูดเรื่องอะไรก็ได้ที่คลายเครียด  เพราะคนชอบฟังเรื่องดีๆ 

แล้วผมก็ตัดสินใจเล่าให้พวกเขาฟังว่า  ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ได้พบวิกฤติหนักหน่วงมาแล้ว  หลายคนรู้จักผมแค่คนที่ทำอะไรๆประสบความสำเร็จ  แต่ผมควรจะเล่าให้พวกเขาฟังสักเรื่องว่า   ผมก็เป็นคนหนึ่งที่เคยผ่านวิกฤติความทุกข์ยาก   แล้วผมจะเล่าเรื่องอะไรดี  มีหลายๆเรื่องผุดขึ้นในความคิด  ในที่สุด  ผมก็ตัดสินใจเล่าว่าครอบครัวของผมได้ผ่านวิกฤติมาด้วยความเชื่ออย่างไร

      “ชีวิตชาวนาไม่เคยสบาย ผมโตขึ้นมาในฟาร์ม เป็นฟาร์มเล็กๆ ผลการเกษตรก็ได้มาเพื่อเพียงเป็นอาหารเลี้ยงครอบครัวเท่านั้น ไข่ไก่จากฟาร์มก็ส่งไปขายร้านชำ   เราเลี้ยงวัวให้เล็มหญ้าริมน้ำ และใช้มันลากคันไถ เรารีดนมวัวไปขาย พอวัวโตเต็มที่เราก็ขายมัน พืชที่ปลูก เราก็เก็บมันปีละครั้ง   เราปลูกข้าวโอ๊ด และข้าวโพด   คุณพ่อของผมซื้อฟาร์มเมื่อตอนที่มันมีราคาสูง ก่อนผมเกิดไม่กี่ปี   การซื้อฟาร์มของคุณพ่อนี่ก็มีเรื่องเล่าได้ยาว

ท่านกำพร้าพ่อแม่มาตั้งแต่เป็นวัยรุ่น  ต้องออกจากโรงเรียนมาหางานทำ  และงานที่ทำคือการเป็นลูกจ้างในไร่

ข้าวโพด  ท่านขยันและเก็บหอมรอบริบ  จนกระทั่งท่านสามารถซื้อฟาร์มขนาด 160 เอเคอร์   ราคาค่อนข้างแพง

           ตอนผมอายุ  3 ขวบ มีความตึงเครียดครั้งใหญ่เกิดขึ้น   ราคาบ้านและหุ้นร่วงลง นักธุรกิจหลายคนฆ่าตัวตาย ธุรกิจขนาดเล็กในอเมริกาเจ๊งไปตามๆกัน   หลายคนล้มแล้วลุกไม่ได้ แต่คุณพ่อของผมเป็นชาวนาคนหนึ่งที่หนังเหนียว   ผมไม่เคยลืมตอนที่ครอบครัวของเราไม่มีเงินซื้อถ่านหิน มาช่วยให้บ้านอุ่นหน้าหนาว เราต้องเก็บกิ่งไม้รอบบ้านมาเป็นเชื้อเพลิง   เราเก็บหามาจนหาแทบไม่ได้อีก เราต้องใช้ซังข้าวโพดแห้งเป็นฟืน เราใช้มันในครัวเพื่อทำอาหาร  ในห้องนั่งเล่นเพื่อให้ความอุ่น   ครอบครัวเราจนมาก  เราไม่มีเงินซื้อถ่านหิน  นี่คือช่วงเวลาแห่งความหนักหน่วงของเรา   เงินน้อยนิดที่ท่านมีท่านเก็บไว้ซื้อ  เมล็ดพันธุ์ข้าวโพด  ท่านเคยบอกผมว่า  “คนที่ไม่กล้าเสี่ยง ไม่มีวันประสบความสำเร็จ”   

 

 

                  พอปีไหน ฝนไม่ตกติดต่อกันประมาณ 2 สัปดาห์ ท่านเริ่มกังวลใจ หากผ่านไป 3-4 สัปดาห์ฝนยังไม่ตกอีก ท่านจะอธิษฐาน ท่านไม่เคยโกรธ แต่ท่านจะก้มศีรษะลงอธิษฐาน  บางครั้งเพื่อนชาวนามารวมตัวกันอธิษฐาน   ทูลขอให้พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่สูงสุดช่วยแผ่นดินเขาให้รอด  อธิษฐานเสร็จพวกเขาก็กลับไปรอฝนที่บ้าน  บางทีฝนไม่ตกเลยติดต่อกันเป็นเดือน   พอเราเห็นฝนก็ดีใจ  แต่บางครั้งฝนก็โปรยปรายมานิดเดียว   แต่คุณพ่อคุณแม่ท่านก็ไม่เคยบ่น   ข้าวโพดที่ขาดน้ำไม่ให้ผลอะไร  พี่สาวและผมเคยคิดจะไปตักน้ำจากบ่อ  แต่มันก็แห้ง   ในหน้าร้อนปีที่ขาดน้ำ น้ำในแม่น้ำฟลอยด์ก็เหือด  ปลาตาย  ที่ร้ายกว่านั้นคือข้าวโพดตายหมด    ถ้าเป็นปีที่ฝนมาปกติ  คุณพ่อผมเคยได้ข้าวโพดถึง 12 เกวียน   แต่ปีนั้นที่แล้งเราได้ข้าวโพดแค่ครึ่งเกวียน   แต่ครึ่งเกวียนก็ยังดีกว่าคว้าน้ำเหลว   เพราะมันคือเมล็ดพันธุ์ที่ท่านจะใช้ปลูกในปีถัดไป  ท่านก็ขอบคุณพระเจ้าสำหรับเมล็ดพันธุ์ที่ท่านไม่ต้องซื้อ  ไม่มีชาวนากี่คนที่มีความเชื่อเหมือนคุณพ่อ  พวกเขาพากันขายนาขายไร่ทิ้ง   เขาขายแค่ครึ่งราคา    คุณพ่อเล่าว่า  ท่านไปขอกู้เงินจากธนาคาร  และขอร้องโดยสัญญากับนายธนาคารว่าถ้าธนาคารให้ท่านกู้เงิน  เมื่อได้ผลท่านจะนำเงินมาคืน  โดยเหตุผลกลใดไม่ทราบ ธนาคารเชื่อท่าน

    ท่านเขียนติดไว้ที่ปฏิทินที่บ้านว่า  “คนพิเศษ คือคนธรรมดาๆนี่แหละ แต่เป็นคนมีความตั้งใจจริง”  

 

 

ข้อความนี้เป็นข้อความที่บรรยาย  ว่าทำไมคุณพ่อจึงประสบความสำเร็จ  

                  ไม่กี่ปีถัดมา   เดือนมิถุนายน  เราพบกับพายุทอนาโด  ตอนนั้นผมเพิ่งกลับมาจากวิทยาลัย  ยังไม่ทันเปิดกระเป๋า   ผมได้ยินเสียงพายุใหญ่  เสียงราวกับรถไฟชนกัน  เมฆครึ้มปกคลุมทั่วฟ้า   “เสียงเหมือนพายุ” คุณพ่อพูดพึมพำ   ผมคิดทันทีว่าจะเก็บโน่นเก็บนี่ให้

ปลอดภัยได้อย่างไร   พระอาทิตย์อับแสง เราเห็นแต่เมฆสีดำทะมึน พายุเข้ามาใกล้เรายิ่งขึ้น   แม่วัววิ่งหาลูกของมัน   ม้าที่ผมขี่ดูเหมือนมันจะรู้ตัวว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น เสียงลมพัดจนหูอื้อ ทันใดนั้น พายุหมุนรูปกรวยสีดำหมุนตรงมาเหมือนเตรียมกวาดสิ่งที่อยู่ข้างล่าง คุณพ่อบอกคุณแม่

“เจนนี่   พายุทอนาโด” เสียงคุณแม่ถามกลับ “คุณแน่ใจหรือว่ามันเป็นพายุ ทอนาโด” ผมนึกสนุก  “วันนี้คงจะได้มีประสบการณ์เล่าให้เพื่อนๆที่วิทยาลัยฟัง”  เสียงคุณพ่อตะโกนบอก  “ลูก  บอกแม่  เอาอะไรก็ได้ที่จำเป็นรีบไปที่รถ   เราต้องไปเดี๋ยวนี้”   เราขับรถเป็นบ้าเป็นหลังลงไปทางใต้    เพื่อออกจากเส้นทางพายุ  ห่างออกไป  2 ไมล์   ถึงเชิงเขา  เราจอดรถที่นั่นแล้วเฝ้าดูมัน   สักครู่พายุก็ผ่านไป   มีฝนตกปรอย ๆตามมา   

                   เรากลับบ้านได้แล้ว  “พระเจ้าข้า   บ้านของเราอยู่ไหม?”  เราขับรถมาอยู่บนยอดเนิน  แลเห็นทุอย่างชัดเจน  ทุกอย่างอันตธานไปหมด   ครึ่งชั่วโมงที่แล้ว   ทุอย่างยังอยู่ครบ  เดี๋ยวนี้เหลือแต่ซาก   ไม่มีสิ่งมีชวิตใดๆหลงเหลือ  มันกวาดไปหมดสิ้น  เราเห็นแม่หมูนอนตายที่ถนน  ม้าที่ผมเคยขี่นอนตายอยู่ที่นั่น   

 

 

                  “เจนนี   มันไปหมดแล้ว   หมดแล้ว   ยี่สิบหกปีที่สั่งสมมา มันหายไปในเวลาแค่สิบนาที” คุณพ่อเดินลงจากรถ ลงไปดูฟาร์มที่พายุ

ทอนาโดดูดไปหมด   เสียงพึมจากปากท่าน “มองดูพระเยซู   มองดูพระเยซูต่อไป”

           ครับ  นึ่คือประโยคเดดียวที่พ่อท่านพูด  

 

 

    อย่าเลิก   อย่าหยุด   อย่าขายทิ้ง   สู้ต่อไป   และนี่แหละคือสิ่งที่คุณพ่อผมทำ   หลายคนคิดว่า มันสิ้นสุดแล้วสำหรับคุณพ่อ   แต่เปล่าเลย   ท่านไม่เลิกท่านไม่ยอมแพ้   ท่านมีความเชื่อที่จะยึดปลายเชือกไว้    ท่านไม่หยุด

            สองสัปดาห์ต่อมา  ท่านพบว่ามีบ้านเก่าแถวนั้น  เขาขายแค่ 50 เหรียญ  ท่านซื้อมัน ถอดไม้และตะปูออกมาเป็นชิ้นๆ  สร้างบ้านหลังเล็กๆ  ท่านค่อยๆต่อเติมมันทีละน้อย  มีฟาร์ม 9 แห่งเลิกกิจการไป   เพราะพายุทอนาโดคราวนั้น    แต่คุณพ่อท่านทำต่อ   ไม่กี่ปีต่อมา  ราคาที่ดินฟาร์มขึ้นราคา   ผลผลลิตจากฟาร์ราคาดีขึ้นอย่างมาก  ภายใน 5 ปีท่านชำระหนี้ธนาคารหมด  คุณพ่อของผมจากไปอย่างคนประสบความสำเร็จ  

            “ท่านอาจพบเวลาที่หนักหน่วง   ความทุกข์ยากของท่านหนักเท่าของคุณพ่อผมไหม?”  ผมดูแววตาแห่งความหวังของนักธุรกิจชาวนาที่ไอโอวาเหล่านั้น   “คุณเคยเอาซังข้าวโพดมาทำฟืนไหม คุณเคยประสบกับพายุทอนาโด อย่างคุณพ่อไหม?”   “คุณกำลังคิดจะเลิกรา ยอมแพ้ใช่ไหม?”  ผมขอบอกคุณสักอย่าง “เวลาแห่งความทุกข์ยากอย่างหนักหน่วง   มันไม่อยู่ยงคงกระพัน ยั่งยืนถาวรหรอก   มันเกิดขึ้นแล้วมันก็ไป   แต่คนที่หนักแน่น คนที่มีความเชื่อต่างหากยืนหยัด มันคงและประสบชัยชนะได้”   

 

 

   ผมได้ยินเสียงปรบมือจาก  ชาวนา 3,500 คน ด้วยความหวังใจ ในนิมิตใหม่   สายตาใหม่ที่เกิดขึ้นกับพวกเขา 

  ครับ  วันนี้ โรเบิร์ท ชูเลอร์ ผู้เล่าเรื่องนี้จากไปอยู่กับพระเจ้าแล้ว  แต่เรื่องที่ท่านเล่า น่าจะเป็นสิ่งหนุนใจเรา ที่กำลังเผชิญวิกฤติโควิด 19 อันไม่เพียงแต่ส่งผลกับ การใช้ชีวิตวิถีใหม่ เช่น การนั่งทำงานที่บ้าน การเรียนหนังสือออนไลน์  การอดออม การปรับเปลี่ยนวิธีทำงาน วิธีประกาศ  ที่มันมีผลกับธุรกิจ  การงาน  ครอบครัวของเรา  อย่ายอมแพ้    อย่าท้อถอย   อย่าเลิกรา   มองดูที่พระเยซูเสมอ  แล้วพระเจ้าจะนำเราไปสู่ความสำเร็จ  อาจารย์เปาโลกล่าวว่า  “ข้าพเจ้าผจญทุกสิ่งได้ โดยมีพระเยซูผู้ชูกำลังของข้าพเจ้า” เวลาของความทุกข์ยากไม่ยืนยงหรอก แต่คนที่มีความเชื่อหนักแน่นจะยั่งยืน” 


Visitor 111

 อ่านบทความย้อนหลัง