อืม บทความนี้ อ่านแล้วใหม่สัมผัสอะไรได้หลายอย่างเชียว
น้องๆ เคยมีเพื่อนมาปรึกษาปัญหาไหม
เดี๋ยวคนนู้นก็มาบอกเรื่องแฟน เดี๋ยวคนนี้เรื่องงาน
อะไรเต็มไปหมดเลย เวลาฟัง มักจะเครียดไปกับคนเหล่านั้นอยู่เสมอ อยากจะช่วยเขา

อยากทำให้เขามีความสุข เพราะงั้น บทความนี้เลยจับใจทีเดียวละ



เวลามีคนมาบอกเราว่า ฉันเจอปัญหาแบบนี้นะ ไม่รู้จะทำยังไงดี

คุณคิดยังไงกับปัญหาของฉัน อย่างแรกที่เกิดขึ้นในใจก็คือ...

เอ เราจะช่วยเค้ายังไงดีน้า ถ้าหากว่าเราไม่เคยเจอปัญหาอย่างเค้า

เราควรจะแนะนำอะไรดีละ



อืม กับคำถามนี้ นักจิตวิทยาก็บอกว่า บางที การที่เราเคยเจอประสบการณ์อย่างเดียวกัน

ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะเข้าใจปัญหาของอีกฝ่ายได้ดีกว่านะ

ความจริง ก็เป็นเรื่องที่ดี ถ้าหากว่าเราเคยเจอเรื่องร้ายๆ แบบเดียวกับคนเล่า

เพราะคนเล่าจะสบายใจขึ้นอยู่แล้วละ ถ้าเจอคนที่เคยมีปัญหาเหมือนกัน

แต่อย่างไรก็เหอะ นักจิตวิทยาบอกว่า มันไม่จำเป็นที่คนที่เคยเจอปัญหานี้

จะต้องเข้าใจ และสามารถให้คำปรึกษาได้ดีกว่าคนที่ไม่เคยเจอเสมอไปนะ








เมื่อมองกันจริงๆ แล้ว การเข้าใจปัญหาของใครสักคนเนี่ย

ไม่จำเป็นเลยที่เราต้องเจอเหตุการณ์ร้ายๆ เหมือนกับเขา

แต่เราสามารถที่จะจินตนาการได้ว่า ถ้าเราเจอสถานการณ์แบบนั้นบ้างละ

ความรู้สึกของเราจะเป็นอย่างไร

อีกอย่าง เรื่องความเป็นกลางสำคัญมาก อย่าพยายามที่จะเห็นอกเห็นใจคนเล่ามากเกินไป

เพราะจะทำให้เราเสียความเป็นตัวเองได้

และที่สำคัญ นักจิตวิทยาบอกไว้ว่า บางครั้ง ความเห็นใจนี่แหละ กลายเป็นด้านมืดได้ดีเลย

แม้ว่าความจริงแล้ว ความเห็นใจ จะช่วยให้เราเข้าใจคนเล่าได้มากขึ้น

แต่ความรู้สึกนี้แหละ เป็นเรื่องที่อาจจะส่งผลร้ายต่อเราได้

เมื่อเราเข้าใจคนเล่า แล้วเก็บปัญหาของเค้ามาคิดเสียเอง

คิดแทนเค้า มองว่าเค้าควรจะทำแบบนี้ จึงจะเหมาะสม

เมื่อไหร่ที่เราคิดแบบนี้ เมื่อนั้น ความเห็นใจของเราจะกลายเป็นด้านมืดต่อตัวเราทันที



เพราะฉะนั้น เวลาให้คำปรึกษาใคร ขอให้ระวังไว้ด้วยเน้อ เด็กๆ

เข้าใจได้ เห็นใจได้ แต่อย่าถลำลึก

เนอะ






ขอบคุณข้อมูลจาก New York Time นะค่ะ


Visitor 49

 อ่านบทความย้อนหลัง