ห่วง 5 โรค 2 ภัยสุขภาพ ช่วงหน้าหนาว

 

เข้าสู่ช่วงฤดูหนาวประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และผู้มีโรคประจำตัว ควรระวังการ

เจ็บป่วย ด้วยโรคติดต่อ 5 โรค 2 ภัยสุขภาพ ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่, ปอดอักเสบ, อุจจาระร่วง, หัด และมือเท้าปาก

 

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ปรีชา เปรมปรี รองอธิบดีกรมควบคุมโรค

พร้อมด้วย พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยง แถลงเตือนประชาชนให้ระมัดระวัง

5 โรค และ 2 ภัยสุขภาพ ที่มากับฤดูหนาว หรือช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นในประเทศไทย

นพ.ปรีชา แถลงว่า กรมควบคุมโรคได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563 เรื่อง การป้องกันโรค

และภัยสุขภาพที่เกิดขึ้นในฤดูหนาวของประเทศไทย ประจำปี 2563 เพื่อเตือนให้ประชาชนระมัดระวัง

การเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อ 5 โรค และ 2 ภัยสุขภาพ ดังนี้ กลุ่มโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ

ได้แก่ 1.โรคไข้หวัดใหญ่ ปีนี้มีการเจ็บป่วยน้อยลงเมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีจำนวนผู้ป่วยจากโรคไข้

หวัดใหญ่ ราว 396,000 ราย ปี 2563 มีผู้ป่วย 113,000 ราย เสียชีวิต 3 ราย แสดงว่าการป้องกัน

ตัวจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย ทำให้สามารถ

ป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจได้ และจำนวน ผู้ป่วยลดลงถึง 3 เท่า

 

นพ.ปรีชา กล่าวว่า 2.โรคปอดอักเสบ ปี 2563 มีผู้ป่วย 150,000 ราย เสียชีวิตประมาณ 100 ราย

นับว่าเป็นอัตราเสียชีวิตที่ค่อนข้างสูง โดยโรคนี้เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ดังนั้น สธ.จึงมีการเฝ้าระวังด้วย

การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่รักษาตัวในโรงพยาบาล (รพ.) ขณะนี้ยังไม่พบ

รายงานผู้ป่วยปอดอักเสบที่ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนกลุ่มโรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ คือ 3.โรค

อุจจาระร่วง ทุกปีจะพบผู้ป่วยในโรคนี้จำนวนมาก ปี 2563 มีผู้ป่วย 680,000 ราย ป้องกันด้วยการ

ล้างมือ รับประทานอาหารร้อน ปรุงสุก สะอาด และอาหารต้องสดใหม่เสมอ

 

"4.โรคหัด ปี 2563 พบผู้ป่วยราว 983 ราย ซึ่งเป็นจำนวนที่ดีกว่าปี 2562 ส่วนมากจะพบในเด็ก

โดยมีวัคซีนป้องกัน แต่ปีนี้การครอบคลุมในการฉีดวัคซีนในประเทศไทยลดลง จึงมีบางกลุ่มไม่มี

ภูมิคุ้มกัน สธ.จึงรณรงค์ฉีดวัคซีนหัด ทั้งนี้ พบว่าภาคใต้มีอัตราการเสียชีวิตสูง และ 5.โรคมือเท้า

ปาก ในปี 2563 ผู้ป่วย 15,000 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต" นพ.ปรีชากล่าว และว่า สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่

พบมากที่สุดในกลุ่มเด็กเล็ก ช่วง 0-4 เดือน ซึ่งไม่ได้รับวัคซีน เนื่องจากวัคซีนจะฉีดในกลุ่มเด็กอายุ

มากกว่า 6 เดือนขึ้นไป พื้นที่พบผู้ป่วยมากที่สุดคือ ภาคเหนือแม้ว่าปีนี้จะมีผู้ป่วยลดลง 3 เท่า แต่จะ

ต้องเข้มงวดสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ และไม่นำมือไปสัมผัสใบหน้า อย่างไรก็ตาม โรคไข้หวัดใหญ่

มีวัคซีน ซึ่ง 7 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ หญิงอายุครรภ์มากกว่า 4 เดือน เด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี ผู้ป่วยโรค

เรื้อรัง ผู้สูงอายุเกิน 65 ปีขึ้นไป ผู้พิการทางสมอง ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้มีภาวะอ้วน น้ำหนัก

เกิน 100 กิโลกรัม สามารถเข้ารับได้ฟรีในสถานบริการของรัฐทุกแห่ง นพ.ปรีชา กล่าวว่า   

โรคอาร์เอสวี (RSV) เป็นโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจของเด็กเล็ก และมีความรุนแรงเฉพาะเด็ก

เล็กเท่านั้น เนื่องจากการติดเชื้อจะเข้าสู่หลอดลมฝอยทำให้เกิดการอักเสบ และการขับเสมหะในกลุ่ม

เด็กเล็กทำได้ยาก จึงทำให้หายใจลำบาก มีเสียงวี้ดขณะหายใจ ดังนั้น เมื่อมีอาการดังกล่าวจะต้องรีบ

ไปพบแพทย์ เพื่อขับเสมหะและลดความลดเสี่ยงในการติดเชื้อ โรคอาร์เอสวีเมื่อติดเชื้อแล้วจะมีระยะ

ฝักตัว 4-6 วัน หลังจากนั้นเมื่อป่วยแล้วจะแพร่เชื้อได้ 1 สัปดาห์ ปัญหาคือ 1.ไม่มียา 2.ไม่มีวัคซีน

การป้องกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เด็กเล็กไม่ควรคลุกคลีกับเด็กเล็กหรือเด็กโตที่มีอาการไข้หวัด ไม่เข้าพื้นที่

แออัด หรือสนามเด็กเล่นที่มีคนมาก ในช่วงนี้จำเป็นต้องแยกตัวออก

 

ด้าน พญ.สุมนี กล่าวถึงกลุ่มภัยสุขภาพว่า 1.การเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะอากาศหนาว นิยามคือ

เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ เกิดขึ้นในที่พักอาศัย โดยที่ไม่มีเครื่องห่มกันหนาวที่เพียงพอ โดยข้อมูล

จากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า มีผู้ป่วย 37 ราย เสียชีวิตภายในบ้าน 25 ราย และนอก

บ้าน 12 ราย โดยส่วนใหญ่อุณหภูมิแวดล้อมขณะเสียชีวิตอยู่ที่ 9-25 องศาเซสเซียส เฉลี่ยที่ 16.32

องศาเซสเซียส ไม่มีเครื่องนุ่งห่มที่เพียงพอ และอาจมีโรคประจำตัว มีประวัติการดื่มสุราเป็นประจำ

 

"กลุ่มเสี่ยงคือ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และผู้มีโรคประจำตัว ดังนั้นต้องดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเป็นพิเศษ

เตรียมความพร้อมของร่างกายให้แข็งแรง สวมใส่เครื่องนุ่งห่มให้เพียงพอ และ 2.การขาดอากาศ

หายใจจากการสูดดมก๊าซพิษ จากอุปกรณ์ที่ใช้เพิ่มความอบอุ่นร่างกาย หรือเรียกว่า การขาดอากาศ

หายใจ ขณะอาบน้ำด้วยระบบทำน้ำอุ่นด้วยก๊าซที่ไม่ได้มาตรฐาน สิ่งแวดล้อมในห้องน้ำไม่มีอากาศไหล

เวียนที่เพียงพอ" พญ.สุมนี กล่าว และว่า สาเหตุอีกประการคือการท่องเที่ยวภูเขา ดอย การกางเต็นท์

รีสอร์ต หรือโรงแรม และมีการจุดตะเกียงไฟในที่เต็นท์นอน ข้อมูลจากกองระบาดวิทยาปี 2562

 

พบว่ามี 4 เหตุการณ์ เป็นผู้ป่วย 5 ราย และเสียชีวิต 1 ราย การป้องกันคือ ไม่ควรจุดตะเกียง หรือ

เตาไฟที่ใช้น้ำมัน และเลี่ยงการใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ออกแบบที่พักให้มีอากาศไหลเวียน เจ้าของ

โรงแรมต้องตรวจสอบคุณภาพเครื่องทำน้ำอุ่นระบบก๊าซ ที่สำคัญ ระมัดระวังกลุ่มเสี่ยงโรคประจำตัว

เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคระบบทางเดินหายใจ เมื่อเกิดอาการเวียนหัว หน้ามืด จะต้องรีบ

ออกจากบริเวณนั้นทันที และในผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์ จะต้องรีบหาช่องทางระบายอากาศด้วยการเปิด

ประตู หน้าต่าง นำผู้ป่วยออกสู่สถานที่โล่งแจ้ง และโทรสายด่วน 1669 เพื่อนำผู้ป่วยส่ง รพ.ให้ทัน

ท่วงที 

 

โดย chatchai nokdee|วันที่ 03 พฤศจิกายน 2563

 



Visitor 488

 อ่านบทความย้อนหลัง