|
เรียนจากมิชชั่นนารียุคบุกเบิก

ศ.บ
วันนี้ เราฉลองครบรอบ 50 ปี คริสตจักรสามัคคีธรรมกรุงเทพ เรายินดีที่ ศจ. โรเบิร์ท นิชิโมโตะ ผู้ก่อตั้งคริสตจักรสามัคคีธรรม
กรุงเทพ มาอยู่กับเรา เป็นความปิติยินดีแก่เราทั้งหลายอย่างยิ่ง อาจารย์มีเรื่องเล่าถึงครั้งอดีตที่ท่านเริ่มงานมา มากมาย น่า
ชื่นชมยิ่งแต่ที่ผมจะมาเล่าให้พี่น้องฟัง เป็นเรื่องราวของมิชชั่นนารีรุ่นแรกที่เข้ามาในเมืองไทย เป็นบทเรียนให้เราได้พินิจพิเคราะห์
เป็นที่ทราบกันดีว่า โปรแตสแต้นท์ ได้เข้ามาสู่ประเทศไทยในรัชกาลที่ 3 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี คศ
1828 คือสมาคมมิชั่นนารีแห่งลอนดอน ( London Missionary Society) แล้วจากนั้นก็มีอีกหลายคณะทะยอยกันเข้ามา แต่
เดิม มิชชั่นนารีคณะนี้ทำงานอยู่ในประเทศจีน

ต่อมาก็ทำงานที่มะละกา ในงานพิมพ์แปลพระคัมภีร์ไบเบิลและใบปลิวเป็นภาษาจีน เมื่อรัฐบาลอังกฤษมาเจรจาการค้ากับไทย วัน
ที่ 23 เดือนสิงหาคม 1828 นายแพทย์ คาร์ล ซี กุตาลาฟ ชาวเยอรมัน และศจ. จาคอบ ทอมลิน มิชชั่นนารีชาวอังกฤษ ก็เดิน
ทางเข้ามาในกรุงเทพฯ ทั้งสองนำพระคัมภีร์ภาษาจีนเข้ามา และเริ่มลงมือแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาไทยโดยใช้ผู้ช่วยชาวจีน ช่วย
อ่านและแปลภาษาจีน ภายใน 6 เดือนแรก การแปลพระกิตติคุณ 4 เล่มก็สำเร็จลุล่วง ช่วงนั้นอังกฤษเข้ามายึดครองพม่า คนไทย
จึงมีความหวาดระแวงว่า มิชชั่นนารีเหล่านี้จะมายุยงชาวจีนในไทยให้กระด้างกระเดื่อง อันเป็นเหตุให้อังกฤษคุกคามประเทศไทย
ทำให้มีการขัดขวาง

สิ่งที่น่าชมเชยมิชชั่นนารีชุดแรกก็คือ ภาพลักษณ์ของมิชชั่นนารีดีขี้น เพราะแต่เดิมฝรั่งที่เข้ามาทำงานในเมืองไทย มักเป็นภาพ
ของพ่อค้า นักผจญภัย หรือทูต แต่มิชชั่นนารีเหล่านี้ ได้นำยารักษาโรคมาแจกจ่าย ใช้ใบปลิวแจกผู้คน และสั่งสอน ทำให้ภาพ
ลักษณ์ของมิชชั่นารีโปรแตสแตนท์ตอนนั้นดีขึ้นในสังคมไทย มิชชั่นนารีถูกมองว่าเป็น “หมอ” อาจเป็นหมอรักษาโรค หรือ
หมอสอนศาสนา ซึ่งแสดงออกถึงความเมตตา อยากช่วยเหลือคน
การมีภาพลักษณ์ที่ดีในสังคม ช่วยเสริมการเผยแพร่
ผมนึกถึงพระเยซูคริสต์ เมื่อพระองค์ทำพระราชกิจในกาลิลี จะเห็นได้ว่าก่อนการถูกต่อต้าน พระองค์ทรงเป็นที่นิยมชมชอบของ
ผู้คน เพราะพระองค์ทรงช่วยพวกเขา โดยการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ขับผีออกจากคนที่ถูกมารเบียดเบียน เปโตรได้บรรยายถึงพระ
เยซูในภายหลังว่า “พระเจ้าได้ทรงเจิมพระองค์ด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ และด้วยฤทธานุภาพอย่างไร และพระเยซูได้เสด็จไป
ทำคุณประโยชน์ และรักษาบรรดาคนที่ถูกมารเบียดเบียน เพราะพระเจ้าทรงสถิตกับพระองค์” (กิจการ 10:38) ภาพลักษณ์ที่ดีไม่
ได้เกิดขึ้นจากการพยายามสร้างภาพ แต่เกิดขึ้นจากหัวใจที่อยากช่วยคนจริงๆ มีการวิเคราะห์นักการเมืองในปัจจุบันถึงเรื่องการ
พยายามสร้างภาพเพื่อเรียกคะแนนนิยมกันอย่างมาก แต่เราก็เห็นได้ว่าการสร้างภาพที่ไม่มีหัวใจให้มิเคยยั่งยืน เพราะไม่นานนัก
คนก็อ่านออก และคะแนนนิยมก็เสียไป

พึ่งการทรงนำของพระวิญญาณ
ความจริง แต่เดิมมิชชั่นนารีสองท่านแรก มิได้ตั้งใจมุ่งมาทำงานในประเทศไทย แต่ต้องการไปทำงานที่ประเทศจีน แต่
เนื่องจากสถานการณ์ในประเทศจีนไม่พร้อมให้เข้าเมือง ทั้งสองจึงรอคอยและพำนักอยู่ในประเทศไทยก่อน ขณะที่รอคอยทั้งสอง
จึงใช้เวลาศึกษาภาษาไทย และแปลพระคัมภีร์บางส่วน ในทัศนะความคิดเห็นของผม นี่ไม่ใช่การทำอะไรที่ผิดแผน แต่เป็นการ
ทรงนำจากพระวิญญาณต่างหาก ผมนึกถึง เปาโลในกิจการบทที่ 16 ครั้งแรกท่านต้องการไปประกาศที่แคว้นเอเชีย แต่พระ
วิญญาณห้ามไม่ให้ไป ท่านจึงพยายามไปยังแคว้นบิธีเนีย ซึ่งปัจจุบันก็เป็นตอนเหนือของประเทศตุรกี แต่พระวิญญาณก็ห้ามอีก
ท่านจึงเดินทางไปยังเมืองโตรอัส เมืองท่า และที่เมืองนี้เองท่านได้รับนิมิต ท่านเห็นชาวมาซิโดเนียร้องขอความช่วยเหลือท่านจึงรู้
ว่าพระเจ้าต้องการให้ท่านไปประกาศที่มาซิโดเนีย คือการข้ามไปยังยุโรป แล้วที่เมืองฟิลิปปี เบโรยา และเธสะโลนิกางานก็เกิดผล
มาก การฟังพระสุรเสียง และอ่านสถานการณ์เป็นสิ่งสำคัญ เพราะความคิดของเรากับพระเจ้าแตกต่างกัน
ผมคิดถึงการไปประกาศที่กบินทร์บุรีครั้งแรกในปี 1993 เราคิดทุ่มเทที่โคกสั้น แต่งานก็ไปเกิดที่โคกขี้เหล็ก ในปี 1997 เรา
ตั้งใจไปประกาศที่ขอนแก่น แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ในปีนั้นเองพระเจ้าทรงนำเรามาเริ่มงานที่กมาลาไสย ในจังหวัดกาฟสินธุ์
แล้วคริสตจักรก็ถูกก่อตั้งขึ้นที่นั่นจนถึงปัจจุบัน ส่วนที่ขอนแก่นพระเจ้าก็ทรงนำให้เกิดงานขึ้นในเวลาต่อมา วันนี้ ผมสังเกตว่า ทุก
ที่ที่เราก้าวไป เมื่อเราไปถึงที่หนึ่ง มีพระคัมภีร์ภาษาจีนอยู่ในมือ มีประสบการณ์เรื่องการทำงานในประเทศจีน เมื่อมาเมืองไทยครั้ง
แรก ก็คิดว่าจะประกาศกับคนจีนที่อยู่ในประเทศไทยก่อน นี่คือการมุ่งทำสิ่งที่ทำได้จับประเด็นให้ถูก การพยายามแปลพระคัมภีร์
เป็นภาษาไทยเมื่อเริ่มงาน เป็นสิ่งที่น่าชมเชยอย่างยิ่ง ลองคิดดูซิ การประกาศถ้าจะให้ยั่งยืน การมีสื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นลายลักษณ์
อักษร เป็นสิ่งจำเป็นแค่ไหน หากวันนี้เราไม่มีพระคัมภีร์ภาษาไทยที่คนไทยอ่านได้ การสื่อสารพระกิตติคุณและการสร้างความเชื่อ
จะเกิดขึ้นได้อย่างไร เรื่องนี้นั้น

ต้องชมเชย ศจ. อโดรีนัม จัดสัน มิชชั่นนารีชาวอเมริกันซึ่งทำงานอยู่ในประเทศพม่า และ นางแอนด์ จัดสัน ภรรยาของท่าน
(1813-1826) ที่มีภาระใจกับเชลยศึกคนไทยในเมืองมะละแมง ที่ได้ฝึกหัดเรียนภาษาไทย และได้แปลบทเรียนเป็นภาษาไทย
ไปพิมพ์ที่ประเทศอินเดีย ซึ่งถือเป็นบทเรียนชุดแรกที่ทำให้คนไทยได้เรียน และศึกษาเรื่องพระเยซูคริสต์ ต่อมาหมอบรัดเลย์ ได้
ขอซื้อแท่นพิมพ์และตัวพิมพ์ภาษาไทยชุดนี้มาทำการพิมพ์ในประเทศไทย ในปี 1835 อันนับว่าเป็นโรงพิมพ์แห่งแรกใน
ประเทศไทย สื่อสิ่งพิมพ์เป็นตัวอย่างให้เราเห็นถึง การจับงานอย่างชาญฉลาด และตรงประเด็น คนไทยเราว่า “สิบปากว่า ยังไม่
เท่าสองตาเห็น” การได้อ่าน ได้เขียนย่อมทำให้เกิดความเข้าใจได้ลุ่มลึกยิ่งกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ดังนั้นอย่าให้เราเมิน การ
พิมพ์หนังสือ ใบปลิว การเขียนข้อความลงในอินเทอร์เนตนะครับ

อดทนเหมือนชาวนารอผล
มิชชั่นนารีเดินทางเข้ามาถึงกรุงเทพฯในปี 1828 ก็จริง แต่กว่ามิชชั่นนารีจะลงหลักปักฐานอยู่ยาวในประเทศไทย ก็เป็น
ผ่านไปเป็น เวลานานถึง 12 ปี และหลังจากนั้นอีก 19 ปี ถึงจะมาคริสเตียนไทยคนแรกรับศีลบัพติสมา การต่อต้าน การอยู่ใน
ประเทศไทยไม่นานเป็นเหตุผลที่ทำให้คริสตจักรไม่เพิ่มพูนเท่าที่ควร แต่น่าสังเกตว่ามิชชั่นนารีเหล่านี้รอคอยได้ ผมคิดถึงพระ
ธรรมยากอบ 5:7 เหตุฉะนั้นพี่น้องทั้งหลาย จงอดทนจนกว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าจะเสด็จมา จงดูชาวนารอคอยผลอันล้ำค่าที่จะได้
จากแผ่นดิน เพียรคอยจนกระทั่งมีฝนต้นฤดูและฝนชุกปลายฤดู ท่านทั้งหลายก็จงอดทนเช่นนั้นเหมือนกัน
(ยากอบ 5:7-8) นี่เป็นแบบอย่างแก่เรา บ่อยครั้งเรารีบร้อน งุ่นง่านใจ แต่ท่านเหล่านี้รับใช้โดยการวางใจในพระเจ้า แม้วันนี้ยัง
ไม่เห็นผล ก็หวังว่าวันหนึ่งจะเกิดผล เหมือนชาวนารอฤดูเก็บเกี่ยว ถ้าเราสัตย์ซื่อเราจะได้เก็บเกี่ยวผลในเวลาอันควร จริงไหม?

วันนี้คริสตจักร สามัคคีธรรมกรุงเทพ ครบรอบ 50 ปี ทรงให้เรามีพันธกิจ และจุดประกาศ มีพันธกิจ และจุดประกาศ 42 แห่ง
เป็นพระองค์เองที่ทรงนำพาทุก ๆขั้นตอน การประกาศยังต้องคืบหน้าต่อไป และบทเรียนที่สำคัญ เราต้องฟังพระองค์ผู้เป็นแม่ทัพ
ต่อไป พระองค์คือผู้กำแผนยุทธศาสตร์ เราต้องฟังพระองค์ พระองค์คือเสนาธิการ เราเป็นเพียงทหารของพระองค์ พระองค์จะ
นำทัพให้ประสบชัยชนะอย่างแน่นอน ผมขอฝากข้อคิดต่าง ๆ เหล่านี้เป็นแรงใจ ให้เราต่อสู้ต่อไปน่ะครับ
|
|
|