มรณะทางรถไฟสาย

     

ศบ.

ยังไม่พ้นเดือนแห่งความรัก วันนี้ขอนำเรื่อง“ทางรถไฟสายมรณะ” ที่เขียนโดย เอิร์นเนส กอร์ดอน ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เรื่องนี้เกิดในบ้านเราเสียด้วย

 เอิร์นเนส กอร์ดอน เกิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ปี 1916   เป็นชาวสก็อตแลนด์ 

กอร์ดอนจบจากมหาวิทยาลัย เซนต์ แอนดรูว์ ประเทศอังกฤษ  เมื่อสงครามโลกระเบิด กอร์ดอน  อายุ 24 ปี ถูกส่งไปเป็นผู้บังคับกองร้อยในกองทัพสก็อต ที่ 93 กองทัพอาไกลซ์ (Argyll)  เป็นกองสุดท้ายที่เดินทางจากยุโรป ผ่านทะเลแดง ถึงมาเลเซีย  ไปยังเกาะสิงคโปร์  พอไปถึงที่นั่นก็เผชิญการโจมตีของกองทัพญี่ปุ่นพอดี  และสิงคโปร์ซึ่งเคยยึดครองโดยอังกฤษ ก็พ่ายแพ้ญี่ปุ่น  กอร์ดอนถูกจับกุมเป็นเชลย ที่ “จังกิ” 

                           

 

อันเป็นค่ายเชลยศึกแห่งแรก  อยู่ทางตะวันออกของสิงคโปร์  ในอดีตที่นี่เคยเป็นที่ตั้งกองทหารอังกฤษ จุคนไม่มากกว่า 1,000 คน แต่ญี่ปุ่นอัดเชลยศึกเข้าไปอยู่ประมาณ 40,000 คน โดยล้อมรั้วลวดหนามสูง และถูกกักให้แยกกันอยู่   “ขวัญของเชลยศึกในค่ายเสียมาก ด้วยสาเหตุหลายประการ บางคนเจ็บปวดที่พ่ายแพ้ รู้สึกว่าตนถูกจับเร็วเกินไป  ทหารที่เพิ่งมาถึง ฟังเรื่องที่ทหาร ญี่ปุ่นทารุณก็ตัวตัวสั่นไปตาม ๆ กัน บางคนถูกแทง ถูกยิงในขณะเป็นเชลย ญี่ปุ่นได้ไปที่โรงพยาบาลอเล็กซานดร้า ในสิงคโปร์ ใช้หอกปลายปืนแทงคนไข้ หมอ และนางพยาบาลตายเกลี้ยง ทั้งจับชาวจีนนับพัน มัดมือตัดกัน แล้วประหารหมู่เสียที่ชายหาด บางทีก็นำลงเรือออกไปปล่อยให้จมน้ำตาย  ที่ทำอย่างนี้เพื่อเป็นตัวอย่าง โดยไม่สนใจสัญญาที่ทำกันที่กรุงเฮก หรือเจนีวา  ที่ทำให้ขวัญเสียกว่านั้นคือการมีอาหารไม่พอกิน  ทำให้หิวโหย และหดหู่  

 ที่ค่ายจังกิ  กอร์ดอน ป่วยเป็นมาเลเรียอย่างแรง ไข้ขึ้นถึง 106 องศา เขาถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลในจังกิ  “ตอนนั้นไม่มียาอาเตบริน หรือ ควินิน ผมได้แต่คอยห่มผ้าให้เหงื่อออก  เมื่อถูกส่งเข้าค่าย เขาทานอาหารที่ปันให้เชลยไม่ได้ ญี่ปุ่นยอมให้เชลยนมัสการพระเจ้าได้  เชลยจึงเข้ามานมัสการมากมาย แต่ผมไม่สนใจ  หลายคนที่ไม่สนใจศาสนามาก่อน  กลับตั้งอกตั้งใจฟัง เพราะต้องการที่ยึด ขจัดความกลัว”  

       เขาถูกส่งขึ้นมากาญจนบุรี 

ญี่ปุ่นสัญญา ว่าที่อยู่ใหม่ดีอย่างโน้นอย่างนี้ มีที่อำนวยความสะดวกในการพักฟื้น มีโรงพยาบาลทันสมัย มีอาหารกินดี ๆ “เราก็หวังอยู่ว่า คง

              

จะดีกว่านี้ ไปอยู่ชนบท จะมีผักหญ้าบริบูรณ์” รถไฟแล่นจากมาเลย์ สู่ประเทศไทย 4 วัน 4 คืน

       เมื่อมาถึงปลายทางคือ “บ้านโป่ง” “เราพบว่าไม่มีอะไรแม้สักสิ่งเดียว ที่เป็นดังคำสัญญา ไม่มีสถานที่หย่อนใจ มีแต่เพียงกระท่อมหลังเดียวใช้เป็นโรงพยาบาล ไม่มีผักสดผลไม้ ส้วมก็เป็นหลุมขุดไว้โล่งๆ” 

 “เราลอบซ่อนวิทยุไว้ ที่ก้นภาชนะใส่น้ำ ทหารช่าง ประกอบมาจากค่ายจังกี แอบใช้ไฟจากแบตเตอรี่รถยนต์ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า ถ้าถูกจับได้ก็มีโทษถึงตาย แต่ก็เพื่อจะทราบข่าวคราวจากภายนอก 

      “ผมยังไม่หายจากมาเลเรียดี มาอยู่ที่บ้านโป่ง เป็นบิดเพิ่มเข้ามาอีกโรคหนึ่ง ที่นี่เราไม่มีรถไฟ จึงต้องเดินเท้าแบกเครื่องครัวขึ้นไปทางเหนือ  ผมแปลกใจว่าแข้งขาวิ่งกระปลกกระเปลี้ย ทนได้อย่างไร” แดดร้อนเปรี้ยง ทหารชุดนั้น  ประมาณ 250  คนลงเรือพ่วง ซึ่งมีเรือยนต์ลาก ที่แม่น้ำกาญจนบุรีไปช้า ๆ ระยะทาง 4 กิโลเมตรถึง เขาชนไก่ 

                            

“เราสร้างค่ายที่นี่เอง เป็นกระท่อมไม้ไผ่ยาว และแคบ เราเพิ่งทราบว่า นายพลโตโจ แม่ทัพทางภาคใต้ของญี่ปุ่น ขอตัวพวกเรามาทำงาน” 

       ญี่ปุ่นวางแผน ข้ามพม่าไปบุกอินเดีย เดิมมีเส้นทางจากสิงคโปร์เข้ากรุงเทพฯอยู่แล้ว  ส่วนในพม่าก็จากร่างกุ้งและเมืองเว้  เพื่อเชื่อมรถไฟทั้งสองสายนี้เข้าด้วยกัน จะต้องตัดทางรถไฟจากบ้านโป่ง ไปตามลำน้ำแคว ผ่านด่านเจดีย์สามองค์ ไปเชื่อมกับพม่าที่เมืองมะละแหม่ง  เส้นทางนี้ 120 กม. วิศวกรญี่ปุ่นเคยคำนวณว่าจะใช้เวลา 5-6 ปีจึงจะสร้างเสร็จ แต่เพื่อการลำเลียงในการสงคราม เริ่มสร้าง เดือนพฤศจิกายน 1942 ให้เสร็จในเวลา 12 เดือน จึงมีการเกณฑ์คน ทั้งเชลยศึกพันธมิตร อันได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอแลนด์ นอกนั้นก็ยังมี ชาวไทย มาลายู จีน แขกทมิฬ และชวา รวมทั้งสิ้นกว่า 60,000 คน  

 “เขาชนไก่ เป็นที่ตั้งของค่ายเล็กค่ายน้อย 26 ค่าย ยาวเหยียดไปตามลำน้ำ กระท่อม 40 หลัง มีคนแออัดถึง 8,000 คน เชลยใหม่มา แทนคนเก่าที่ตายไป”  ไม่มีใครคิดแหกรั้วไป เพราะอยู่ในป่าทึบ คนที่เคยหนี ไม่มีข่าวว่ารอดตายเลย มีแต่แหกรั้วไปค้าตลาดมืดกับชาวบ้าน หรืออกไปหาสมุนไพร  

                               

  เชลยถูกบังคับให้ตัดไม้ ถางป่า พูนดิน เพื่อวางรางรถไฟ “เราทำงานกันตัวล่อนจ้อน มีแต่ผ้าเตี่ยวคาดผืนเดียว กลางแดดร้อน 120 องศา เมื่อพวกเราข้อล้าก็ถูกตี  บางคนถูกเฆี่ยนลงไปตายต่อหน้าต่อตา เมื่อถึงภูเขางานยิ่งหนักขึ้น ครั้งแรกๆ เขาชนไก่ เป็นค่ายของคนแข็งแรง กระปรี้กระเปร่า  ในที่สุดที่นี่ เป็นค่ายพยาบาล เหม็นโฉ่  มีแต่คนเจ็บหนักกลับมาตาย  แถม อหิวาต์เข้ามาจู่โจมโดยไม่บอกเล่าเก้าสิบ  ศพของผู้เป็นโรคถูกเผา แสงไฟลุกโชติช่วงริมแม่น้ำ ต่างคนต่างคิดเอาตัวรอด กอร์ดอนเล่าวว่า  “เรามีชีวิตอยู่ในความทุกข์ การเอาตัวรอดเป็นเรื่องสำคัญ ผู้รอดตายคือคนแข็งแรงที่สุด  พวกเชลยขโมยข้าวของกินกันเอง  เลวถึงขั้นต่ำช้าที่สุด ไร้ศีลธรรม ไม่มีใครคิดช่วยใคร ผู้จับกุมเรามาสัญญาว่าจะทำให้ชาวอังกฤษ “ต่ำช้ากว่าชาวเอเชียใด ๆทั้งหมด” ญี่ปุ่นถือหลักว่า “ข้าวปันส่วนนั้นต้องให้แก่คนทำงาน จึงไม่มีข้าวให้คนเจ็บกิน” 

 กำลังใจเกิดได้อย่างไร 

         “ผมป่วยเป็นโรคคอตีบ” เขาทำงานไม่ได้ เพราะยกขาไม่ขึ้น หมอทหารอนุญาตให้เข้าโรงพยาบาล  เพราะยืนไม่ได้แล้ว  และโรงพยาบาล ก็คือ “บ้านมรณะ”มีกลิ่นเหม็นทุกอย่างที่นี่ คนเจ็บนอนกันเป็นแถว หมอคิดว่าเขาต้องตาย  “พระเจ้าส่ง ทอม ริคแดน  มาหาผม  เขาขอสร้างกระท่อมหลังเล็ก ๆให้ผม” ทอมชี้แจงให้หมอทราบว่า กอร์ดอนเป็นทุกโรค  เชลยรับอนุญาตให้เขียนจดหมายกลับบ้าน  ส่วนมากพวกเขาเขียน   

                          

ลาตาย แต่กอร์ดอน เขียนว่า “คุณพ่อคุณแม่ที่รัก ถ้าใครบอกท่านว่าผมจะไม่ได้กลับไป ขออภัยเถอะครับ  ผมหวังว่า ผมจะได้กลับมาหาคุณพ่อคุณแม่อย่างปลอดภัย... จากลูกรัก เอิร์นเนส เขาบอกกับตนเอง “จิตใต้สำนึก บอกผมว่า ผมจะไม่ตาย  ผมตั้งใจไว้แล้วว่า จะไม่ยอมแพ้” 

 บรรยากาศในค่ายมรณะ ดีขี้น

        ดัสตี้  มิลเลอร์  สารวัตรทหารคนหนึ่ง มาทำงานในครัวกลางคืน กลางวันขันอาสามาช่วยล้างแผล  และนำอาหารมาให้  และทรงส่ง แดนดี้ มัวร์ กองสัญญาณ มาช่วยข้าพเจ้าอีกคนหนึ่ง  กอร์ดอนหายวันหายคืน  “ขาของผมค่อยๆ มีความรู้สึกขึ้น ผมบริหารขาทั้งสองข้างได้แล้ว” ดัสตี้เป็นคริสเตียน ส่วน ดินดี้เป็นคาทอลิค “เพราะรักศรัทธาในพระเจ้า ผมได้รับการบำบัด”  

 มีเรื่องเล่าในค่าย “คุณจำ แองกัส แม็คกิลลิฟเรย์ได้ไหม?” ดัสตี้ถาม  “จำได้ซิ” กอร์ดอนตอบ “เขาเป็นทหารอยู่กองเดียวกับผม ผมรู้จักเขาดีทีเดียว”  “แกตายแล้วครับ” “เอ๊ะ ตายยังไงกัน”  ดัสตี้อึ้งไปครู่ใหญ่ ตื้นตันใจ “เพื่อนรักของแองกัสแกป่วยหนัก ไม่ทราบใครไปขโมยผ้าห่มเพื่อนแก  แองกัสเอาผ้าผมไปให้เพื่อนห่ม  ทุกมื้อแองกัสไปรับปันอาหารเอามาให้เพื่อนกิน  แองกัสต้องทรมานเพราะความหิว  แกเป็นคนร่างใหญ่เสียด้วย” เขาแข็งใจทำงานไปจนหมดแรง  เพื่อให้เพื่อนของเขารอดชีวิต”  “เพื่อนๆเห็นแองกัสออกไปนอกค่ายกลางคืน” ดัสตี้เล่าต่อ “ไปหมู่บ้านคนไทย ทุกคนทราบต่างตลึง”  “เอาของมีค่าไปแลกไข่ไก่  ยา  เขามิได้ทำเพื่อตัวเอง  ทำให้เพื่อนหายวันหายคืน  แต่แองกัสเองกลับฟุบ หมดแรงล้มตายไป”   ดัสตี้เล่าต่อไปไม่ออก “เขาช่วยเหลือเพื่อนด้วยทุกสิ่งที่มี แม้กระทั่งชีวิต” กอร์ดอน เอ่ยขึ้น “ความรักใหญ่กว่านี้ไม่มี  คือผู้หนึ่งสละชีวิตเพื่อมิตรสหายของตน.. เธอจำได้ไหม”  “ครับ ผมจำได้” ดัสตี้พยักหน้า สิ่งที่แองกัสทำ แพร่ไปทั่วค่าย   เขาทำตัวอย่างให้เห็นว่า  เราควรจะอยู่กันอย่างไร  พระคัมภีร์กลายเป็นหนังสือที่ทุกคนอยากอ่าน   

 ผมเล่าให้สั้นลง

หลังวันคริสตมาส 1943   สะพานข้ามแม่น้ำแควสร้างเสร็จ  ทหารญี่ปุ่นลดความเข้มงวดลง  อนุญาตให้เชลยศึกได้ตั้งเวที จัดรายการบันเทิง  สอนความรู้ พระคัมภีร์ ยืมหนังสือ และตั้งโบสถ์ในค่าย  ต้นกุมภาพันธ์ 1944 ทหารญี่ปุ่นย้ายเชลยศึกจากเขาชนไก่ไปยังนครปฐม ที่นั่นมีโรงพยาบาลที่ดีกว่าเขาชนไก่มาก  ต้นปี 1945  กอร์ดอนถูกย้ายกลับกาญจนบุรีอีกที  พันธมิตรทิ้งระเบิดสะพานมรณะพินาศหลายจุด “ญี่ปุ่นขวัญไม่ดีขึ้นทุกที สังเกตจากการเรียกให้เชลยศึกออกไปขานชื่อกระทันหันตอนเที่ยงคืน “ยึดข้าวของของเราไป โดยเฉพาะสมุดบันทึก และสั่งให้เราเลิกชุมนุมทางศาสนา” กอร์ดอน ไปขอพระคัมภีร์คืนมา   

                            

แล้ววันหนึ่งทหารญี่ปุ่นก็หายไปหมด ญี่ปุ่นแพ้สงคราม พวกเขาหนีไปตามภูเขา “ทหารญี่ปุ่น ผู้บาดเจ็บขึ้นรถไฟไปกรุงเทพฯ คนเหล่านี้กำลังตกใจกลัว ไม่มีใครสนใจใยดีเขา  “ผมแก้ข้าวห่อ ปันอาหารให้พวกเขา  ชะแผลให้เขา  เขาบอก “อริงาโต”(ขอบคุณ)   ทหารพันธมิตร เห็นเข้าบอกผมว่า “พวกแกนี่โง่จริง ๆ”   ผมถามว่า  เคยได้ยิน เรื่องชายคนหนึ่งเดินทางจากเยรูซาเล็มไปยังเยรีโคไหม” เขามองหน้า ผมพูดต่อ “เขาถูกโจรปล้น ลอกคราบไปหมด  ..แต่ชาวสะมาเรียมาช่วยเขามิใช่หรือ”

        ขอพระเจ้าอวยพรครับ

 



Visitor 179

 อ่านบทความย้อนหลัง